เมนู

อรรถกถามาลุงกยปุตตเถรคาถาที่ 5


คาถาของท่านพระมาลุงกยปุตตปเถระ มีคำเริ่มต้นว่า รูปํ ทิสฺวา
สติ มุฏฺฐา
ดังนี้. เรื่องของท่านผู้มีอายุนี้ได้กล่าวไว้แล้วในฉักกนิบาต
ในหนหลังแล, ก็คาถาเหล่านั้น พระเถระผู้ดำรงอยู่ในพระอรหัต ได้กล่าว
แก่พวกญาติด้วยอำนาจเทศนา.
ส่วนในที่นี้ ในคราวที่เป็นปุถุชน เมื่อพระศาสดาผู้อันพระเถระ
อ้อนวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังข้าพระองค์ขอวโรกาส ขอ
พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ จึงทรง
แสดงธรรมโดยย่อว่า ดูก่อนมาลุงกยบุตร เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็น
ไฉน รูปเหล่านั้นใด ที่พึงรู้แจ้งทางจักษุไม่ได้แล้ว ทั้งไม่เคยเห็นแล้ว
เธอไม่ได้เห็นรูปเหล่านั้น และเราไม่พึงเห็นรูปเหล่านั้นว่ามีอยู่ เธอจะมี
ความพอใจ ความใคร่ และความรักในรูปนั้นหรือ. ข้อนั้นไม่เป็นอย่าง
นั้น พระเจ้าข้า. เสียงเหล่านั้นใดที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ฯ ล ฯ กลิ่น รส
โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ทางลิ้น และทางกาย ฯลฯ ธรรม-
ทั้งหลายนั้นใดที่จะพึงรู้แจ้งทางใจ เธอยังไม่รู้แจ้งแล้ว ทั้งไม่เคยรู้แจ้ง
แล้ว เธอไม่รู้แจ้งธรรมเหล่านั้น เราก็ไม่พึงรู้แจ้งธรรมเหล่านั้น ว่ามีอยู่
เธอย่อมมีความพอใจ ความใคร่ หรือความรักในธรรมนั้นหรือ. ข้อนั้น
ไม่เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า. ดูก่อนมาลุงกยบุตร ก็บรรดาธรรมทั้งหลาย
ที่เธอได้เห็น ได้ฟัง ได้ทราบและได้รู้แจ้ง ในที่นี้ จักเป็นเพียงแต่เห็น
ในรูปที่ได้เห็น จักเป็นแต่เพียงได้ฟังในเสียงที่ได้ฟัง จักเป็นแต่เพียงได้
ทราบในอารมณ์ที่ได้ทราบ จักเป็นแต่เพียงได้รู้แจ้งในธรรมที่ได้รู้แจ้ง.
ดูก่อนมาลุงกยบุตร เพราะเหตุที่ในบรรดาธรรมที่เธอเห็นแล้ว ได้ฟังแล้ว

ได้ทราบแล้ว และพึงรู้แจ้ง จักเป็นแต่เพียงได้เห็นในรูปที่ได้เห็นแล้ว
จักเป็นแต่เพียงได้ฟังในเสียงที่ได้ฟังแล้ว จักเป็นแต่เพียงได้ทราบใน
อารมณ์ที่ได้ทราบแล้ว จักเป็นแต่ได้รู้แจ้งในธรรมที่ได้รู้แจ้งแล้ว. ดูก่อน
มาลุงกยบุตร เพราะเหตุนั้น เธอก็จะไม่มีด้วยสิ่งนั้น. ดูก่อนมาลุงกยบุตร
เพราะเหตุที่เธอไม่มีด้วยสิ่งนั้น. ดูก่อนมาลุงกยบุตร เพราะเหตุนั้น เธอ
ก็จะไม่มีในสิ่งนั้น. ดูก่อนมาลุงกยบุตร เพราะเหตุที่เธอไม่มีในสิ่งนั้น.
ดูก่อนมาลุงกยบุตร เพราะเหตุนั้น เธอก็จะไม่มีในโลกนี้ ไม่มีในโลกหน้า
ไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง, นี่แหละ เป็นที่สุดแห่งทุกข์ ดังนี้ เมื่อจะ
ประกาศความที่ธรรมนั้นเป็นธรรมอันตนเรียนดีแล้ว จึงได้กล่าวคาถา
เหล่านั้นว่า
เมื่อบุคคลได้เห็นรูปแล้ว มัวใส่ใจถึงรูปนั้นว่าเป็น
นิมิตที่น่ารัก สติก็หลงลืม เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้นั้นย่อม
มีจิตกำหนัดเพลิดเพลินอยู่ ทั้งยึดมั่นรูปนั้นด้วย. เวทนา
มิใช่น้อยซึ่งมีรูปเป็นแดนเกิด ย่อมเจริญมากขึ้นแก่ผู้นั้น
อภิชฌาและวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของผู้นั้นให้เดือด-
ร้อน. ความทุกข์ย่อมเป็นไปแก่ผู้นั้น ผู้มัวคำนึงถึงรูปอยู่
อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้
ห่างไกลพระนิพพาน.

เมื่อบุคคลได้ฟังเสียงแล้ว มัวใส่รอเสียงนั้นว่าเป็น
นิมิตที่น่ารัก สติก็หลงลืม เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้นั้นย่อมมี
จิตกำหนัดเพลิดเพลินอยู่ ทั้งยึดมั่นเสียงนั้นด้วย เวทนา

มิใช่น้อย ซึ่งมีเสียงเป็นแดนเกิด ย่อมเจริญมาขึ้นแก่
ผู้นั้น อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเบียดเบียนจิตของผู้นั้นให้
เดือดร้อน ความทุกข์ย่อมเป็นไปแก่ผู้นั้น ผู้มัวคำนึงถึง
เสียงอยู่อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกผู้นั้นว่า
เป็นผู้ห่างไกลพระนิพพาน.

เมื่อบุคคลได้ดมกลิ่นแล้ว มัวใส่ใจถึงกลิ่นนั้นว่าเป็น
นิมิตที่น่ารัก สติก็หลงลืม เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้นั้นย่อม
มีจิตกำหนัดเพลิดเพลินอยู่ ทั้งยึดมั่นกลิ่นนั้นด้วย เวทนา
มิใช่น้อยซึ่งมีกลิ่นเป็นแดนเกิด ย่อมเจริญมากขึ้นแก่
ผู้นั้น อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเบียดเบียนจิตของผู้นั้น
ให้เดือดร้อน ความทุกข์ย่อมเป็นไปแก่ผู้นั้น ผู้มัวคำนึง
ถึงกลิ่นอยู่อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกผู้นั้นว่า
เป็นผู้ห่างไกลพระนิพพาน.

เมื่อบุคคลใดลิ้มรสแล้ว มัวใส่ใจถึงรสนั้นว่าเป็น
นิมิตที่น่ารัก สติก็หลงลืม เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้นั้นย่อมมี
จิตกำหนัดเพลิดเพลินอยู่ ทั้งยึดมั่นรสนั้นด้วย เวทนา
มิใช่น้อยซึ่งมีรสเป็นแดนเกิด ย่อมเจริญมากขึ้นแก่ผู้นั้น
อภิชฌาและวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของผู้นั้นให้เดือด
ร้อน ความทุกข์ย่อมเป็นไปแก่ผู้นั้น ผู้มัวคำนึงถึงรสอยู่
อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกบุคคลนั้นว่า เป็น
ผู้ห่างไกลพระนิพพาน.

เมื่อบุคคลถูกต้องผัสสะ มัวใส่ใจถึงผัสสะนั้นว่า เป็น
นิมิตที่น่ารัก เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้นั้นย่อมมีจิตกำหนัด
เพลิดเพลินอยู่ทั้งยึดมั่นผัสสะนั้นด้วย เวทนานิใช่น้อย
ซึ่งมีผัสสะเป็นแดนเกิด ย่อมเจริญมากขึ้นแก่ผู้นั้น
อภิชฌาและวิหิงสา ย่อมเบียดเบียนจิตของผู้นั้นให้เดือด
ร้อน ความทุกข์ย่อมเป็นไปแก่ผู้นั้น ผู้มัวคำนึงถึงผัสสะ
อยู่อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้
ห่างไกลพระนิพพาน.

เมื่อบุคคลรู้ธรรมารมณ์แล้ว มัวใส่ใจถึงธรรมารมณ์
นั้นว่าเป็นนิมิตที่น่ารัก สติก็หลงลืม เมื่อเป็นเช่นนั้น ผู้นั้น
ย่อมมีจิตกำหนัดเพลิดเพลินอยู่ ทั้งยึดมั่นธรรมารมณ์นั้น
อยู่ เวทนามิใช่น้อยซึ่งมีธรรมารมณ์เป็นแดนเกิด ย่อม
เจริญขึ้นมากแก่ผู้นั้น อภิชฌาและวิหิงสาย่อมเบียดเบียน
จิตของผู้นั้นให้เดือดร้อน ความทุกข์ย่อมเป็นไปแก่ผู้นั้น
ผู้มัวคำนึงถึงธรรมารมณ์อยู่อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกผู้นั้นว่า เป็นผู้ห่างไกลพระนิพพาน.

ส่วนผู้ใดเห็นรูปแล้วเป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า ผู้นั้นไม่
กำหนัดยินดีในรูป เป็นผู้มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์
อยู่ ทั้งไม่ยึดมั่นรูปนั้น กิเลสชาติมีอภิชฌาเป็นต้น ย่อม
ไม่เป็นไปแก่พระโยคีผู้เห็นรูป โดยความเป็นของไม่เที่ยง
เป็นต้น หรือแม้กิเลสทั้งปวงของพระโยคีผู้เสวยเวทนาอยู่

ย่อมสิ้นไป ก่อรากขึ้นไม่ได้ฉันใด ผู้นั้นมีสติประพฤติอยู่
ก็ฉันนั้น ทุกข์ย่อมไม่เป็นไปแก่ผู้นั้น ผู้ไม่คำนึงถึงอย่าง
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกผู้นั้นว่า มีในที่ใกล้
พระนิพพาน.

ผู้ใดได้ฟังเสียงแล้วเป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า ผู้นั้นไม่
กำหนัดยินดีในเสียง เป็นผู้มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์
อยู่ ทั้งไม่ยึดมั่นเสียงนั้น กิเลสชาติมีอภิชฌาเป็นต้น
ย่อมไม่เป็นไปแก่พระโยคีผู้ได้ฟังเสียง โดยความเป็น
ของไม่เที่ยงเป็นต้น กิเลสทั้งปวงของพระโยคีผู้เสวย
เวทนาอยู่ย่อมสิ้นไป ก่อรากขึ้นไม่ได้ฉันใด ผู้นั้นเป็นผู้
มีสติประพฤติอยู่ก็ฉันนั้น ทุกข์ย่อมไม่เป็นไปแก่ผู้นั้น
ผู้ไม่คำนึงถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกผู้นั้น
ว่า มีในที่ใกล้พระนิพพาน.

ผู้ใดได้ดมกลิ่นแล้วเป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า ผู้นั้นไม่
กำหนัดยินดีในกลิ่น เป็นผู้มีจิตคลายกำหนัดเสวยอารมณ์
อยู่ ทั้งไม่ยึดมั่นกลิ่นนั้น กิเลสชาติมีอภิชฌาเป็นต้น
ย่อมไม่เป็นไปแก่พระโยคี ผู้ดมกลิ่นโดยความเป็นของไม่
เที่ยงเป็นต้น หรือแม้กิเลสชาติทั้งปวงของพระโยคีผู้เสวย
เวทนาอยู่ย่อมสิ้นไป ก่อรากขึ้นไม่ได้ฉันใด ผู้นั้นเป็นผู้
มีสติประพฤติอยู่ก็ฉันนั้น ทุกข์ย่อมไม่เป็นไปแก่ผู้นั้น
ผู้ไม่คำนึงถึงอยู่อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกผู้
นั้นว่า มีในที่ใกล้พระนิพพาน.

ผู้ใดได้ลิ้มรสแล้ว เป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า ผู้นั้น
ไม่กำหนัดยินดีในรส เป็นผู้มีจิตคลายกำหนัดเสวย
อารมณ์อยู่ ทั้งไม่ยึดมั่นรสนั้น กิเลสชาติมีอภิชฌาเป็นต้น
ย่อมไม่เป็นไปแก่พระโยคีผู้ลิ้มรส โดยความเป็นของไม่
เที่ยงเป็นต้น กิเลสทั้งปวงของพระโยคีผู้เสวยอารมณ์อยู่
ย่อมสิ้นไป ก่อรากขึ้นไม่ได้ฉันใด ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ
ประพฤติอยู่ก็ฉันนั้น ทุกข์ย่อมไม่เป็นไปแก่ผู้นั้น ผู้ไม่
คำนึงถึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกผู้นั้นว่า
มีในที่ใกล้พระนิพพาน.

ผู้ใดถูกต้องผัสสะแล้ว เป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า ผู้นั้น
ไม่กำหนัดยินดีในผัสสะ เป็นผู้มีจิตคลายกำหนัดเสวย
อารมณ์อยู่ ทั้งไม่ยึดมั่นผัสสะนั้น กิเลสชาติมีอภิชฌา
เป็นต้น ย่อมไม่เป็นไปแก่พระโยคีผู้ถูกต้องผัสสะโดย
ความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น กิเลสทั้งปวงของพระโยคี
ผู้เสวยเวทนาอยู่ย่อมสิ้นไป ไม่ก่อรากขึ้นได้ฉันใด ผู้นั้น
เป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ก็ฉันนั้น ทุกข์ย่อมไม่เป็นไปแก่
ผู้นั้น ผู้ไม่คำนึงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
เรียกผู้นั้นว่า มีในที่ใกล้พระนิพพาน.

ผู้ใดรู้แจ้งธรรมารมณ์แล้ว เป็นผู้มีสติเฉพาะหน้า ผู้นั้น
ไม่กำหนัดยินดีในธรรมารมณ์ เป็นผู้มีจิตคลายกำหนัด
เสวยอารมณ์อยู่ ทั้งไม่ยึดมั่นธรรมารมณ์นั้น กิเลสชาติ
มีอภิชฌาเป็นต้น ย่อมไม่เป็นไปแก่พระโยคีผู้รู้แจ้ง

ธรรมารมณ์โดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น หรือแม้
กิเลสทั้งปวงของพระโยคีผู้เสวยเวทนาอยู่ย่อมสิ้นไป ไม่
ก่อรากขึ้นได้ฉันใด ผู้นั้นเป็นผู้มีสติประพฤติอยู่ฉันนั้น
ทุกข์ย่อมไม่เป็นไปแต่ผู้นั้น ผู้ไม่คำนึงถึงอย่างนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกผู้นั้นว่า มีในที่ใกล้พระ-
นิพพาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รูปํ ทิสฺวา ได้แก่ เข้าไปได้เห็นรูป
ที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ ทางจักษุทวาร.
บทว่า สติ มุฏฺฐา ปิยํ นิมิตฺตํ มนสิ กโรโต ความว่า เมื่อบุคคล
ไม่ตั้งอยู่ในรูปนั้นเพียงสักว่าเห็นเท่านั้น ใส่ใจถึงสุภนิมิต คือกระทำไว้
ในใจโดยไม่แยบคาย ด้วยอาการถืออาว่างาม สติย่อมหลงลืม. ก็เมื่อเป็น
เช่นนั้น ผู้นั้นเป็นผู้มีจิตกำหนัดเสวยอารมณ์อยู่ คือเป็นผู้กำหนัดติดข้อง
รูปารมณ์นั้น เสวยอารมณ์เพลิดเพลิน ยินดียิ่งอยู่, ก็บุคคลผู้เป็นอย่างนั้น
ย่อมยึดมั่นรูปารมณ์นั้นด้วย อธิบายว่า ยึดรูปารมณ์นั้น คือยึดมั่นว่าเป็น
สุข ๆ กลืนเอาไว้หมด แล้วดำรงอยู่.
บทว่า ตสฺส วฑฺฒนฺติ เวทนา อเนกา รูปสมฺภวา ความว่า
เวทนามิใช่น้อยต่างโดยสุขเวทนาเป็นต้น ซึ่งมีรูปเป็นแดนเกิด คือมีรูป
เป็นอารมณ์ อันมีการเกิดขึ้นแห่งกิเลสเป็นตัวเหตุ ย่อมเจริญยิ่งแก่บุคคล
นั้น คือผู้เห็นปานนั้น.
บทว่า อภิชฺฌา วิเหสา จ จิตฺตมสฺสูปหญฺญติ ความว่า จิตของ
บุคคลนั้น ถูกอภิชฌาอันเกิดในปิยรูป ด้วยอำนาจความกำหนัด และ
วิหิงสาอันมีความเศร้าโศกเป็นลักษณะเกิดขึ้น เพราะปิยรูปนั้นแหละ

มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ด้วยอำนาจความชิงชังในรูปอันไม่
น่ารัก เบียดเบียนอยู่.
บทว่า เอวมาจินโต ทุกฺขํ ความว่า วัฏทุกข์ย่อมเป็นไปแก่ผู้มัว
คำนึงถึงอภิสังขารคือภพนั้นๆ ด้วยอำนาจความยินดีในการเสวยอารมณ์.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิด
ตัณหา ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ย่อมมี ดังนี้. สำหรับบุคคล
ผู้เป็นอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าไกล คือห่างไกลพระนิพพาน
อธิบายว่า พระนิพพานนั้น อันบุคคลนั้นได้ยาก.
แม้ในคาถามีอาทิว่า สทฺทํ สุตฺวา ก็พึงทราบเนื้อความโดยนัย
ดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฆคฺวา แปลว่า สูดดมแล้ว. บทว่า
โภตฺวา แปลว่า ลิ้มแล้ว . บทว่า ผุสฺส แปลว่า ถูกต้องแล้ว.
บทว่า ธมฺมํ ญตฺวา ได้แก่ รู้แจ้งธรรมารมณ์.
พระเถระครั้นแสดงวัฏฏะของคนผู้กำหนัดในอารมณ์ทางทวารทั้ง 6
อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงวิวัฏฏะพระนิพพานของคนผู้ไม่กำหนัดใน
อารมณ์นั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า น โส รชฺชติ รูเปสุ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น โส รชฺชติ รูเปสุ รูปํ ทิสฺวา
ปฏิสฺสโต
ความว่า บุคคลใดเห็นรูปแล้ว ยึดเอารูปารมณ์ที่มาอยู่ในคลอง
ด้วยการสืบต่อแห่งวิญญาณอันเป็นไปในจักษุทวาร ย่อมกลับเป็นผู้ได้สติ
เพราะเป็นผู้กระทำความรู้ตัวด้วยสัมปชัญญะทั้ง 4 บุคคลนั้นย่อมไม่
กำหนัด คือไม่ทำความกำหนัดให้เกิดในรูปารมณ์ทั้งหลาย คือเป็นผู้มีจิต
คลายกำหนัดรู้แจ้งอยู่โดยแท้ เมื่อรู้แจ้งตามความเป็นจริงในรูปารมณ์

โดยความเป็นสมุทัยเป็นต้น ย่อมเบื่อหน่าย เมื่อเบื่อหน่าย เป็นผู้มีจิต
คลายกำหนัดรู้แจ้งรูปารมณ์นั้น และเวทนาที่เกิดในรูปารมณ์นั้น ก็บุคคล
ผู้เป็นอย่างนั้น ย่อมไม่ยึดมั่นรูปารมณ์นั้น อธิบายว่า ย่อมไม่ยึดติด
รูปารมณ์นั้น เพราะเป็นผู้มีจิตคลายกำหนัดได้โดยชอบ คือย่อมไม่ยึดมั่น
ด้วยอำนาจตัณหา มานะ และทิฏฐิว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นอัตตา
ของเรา.
บทว่า ยถาสฺส ปสฺสโต รูปํ ความว่า อภิชฌาเป็นต้นในรูปารมณ์
นั้น ย่อมไม่เป็นไปแก่พระโยคีนั้นฉันใด ก็ย่อมไม่เป็นไปแก่บุคคลผู้เห็น
รูปโดยความไม่เที่ยงเป็นต้นฉันนั้น.
บทว่า เสวโต จาปิ เวทนํ ได้แก่ แม้ผู้เสวยเวทนาอันปรารภรูป
นั้นเกิดขึ้น และธรรมอันสัมปยุตด้วยเวทนานั้น โดยการเสวยอารมณ์.
บทว่า ขียติ ความว่า กิเลสวัฏทั้งปวงย่อมถึงความสิ้นไปคือความหมด
สิ้น.
บทว่า โนปจิยติ1 ได้แก่ ย่อมไม่ก่อ คือย่อมไม่ถึงความสั่งสมไว้.
บทว่า เอวํ โส จรตี สโต ความว่า เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะประพฤติ
คืออยู่ด้วยการปฏิบัติเพื่อกำจัดกิเลสอย่างนี้.
บทว่า เอวํ อปจินโต ทุกฺขํ ได้แก่ ผู้ปราศจากการก่อวัฏทุกข์
ทั้งสิ้น ด้วยปัญญาอันสัมปยุตด้วยมรรคอันเป็นเครื่องถึงความปราศจาก
ความสั่งสม โดยนัยดังกล่าวแล้ว.
บทว่า สนฺติเก นิพฺพาน วุจฺจติ ความว่า พระผู้มีพระภาณเจ้าตรัส

1. บาลีเป็น อปจิยฺยติ.

ว่า ใกล้สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ และอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เพราะได้
ทำให้แจ้งอสังขตธาตุ.
แม้ในบทว่า น โส รชฺชติ สทฺเทสุ เป็นต้น ก็พึงทราบเนื้อความ
โดยนัยนี้นั่นแล.
พระเถระประกาศความที่ตนเป็นผู้รองรับพระโอวาทของพระศาสดา
ด้วยคาถาเหล่านี้อย่างนี้แล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะถวายบังคมพระศาสดาแล้ว
ก็ไป ไม่นานนัก เจริญวิปัสสนาก็ได้บรรลุพระอรหัต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถามาลุงกยปุตตเถรคาถาที่ 5

6. เสลเถรคาถา


ว่าด้วยคำชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้า


[390] พระเสลเถระเมื่อครั้งยังเป็นพราหมณ์ได้กล่าวชมเชยพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถา 6 คาถา ความว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ผู้ทรงมีพระวิริย-
ภาพ มีพระสรีรกายสมบูรณ์ มีพระรัศมีงดงามชวนให้
น่าดูยิ่งนัก พระฉวีวรรณก็เปล่งปลั่งดังทองคำ พระ-
เขี้ยวแก้วทั้งซ้ายขวาก็สุกใส ด้วยว่าลักษณะแห่งมหาบุรุษ
เหล่าใด ย่อมมีปรากฏแก่พระอริยเจ้า หรือพระบรม-
จักรพรรดิ ผู้เป็นนระเกิดแล้วโดยชอบ ลักษณะแห่ง
มหาบุรุษเหล่านั้น ย่อมมีปรากฏในพระกายของพระองค์
ครบทุกสิ่ง พระองค์มีดวงพระเนตรแจ่มใส พระพักตร์
ผุดผ่อง พระวรกายทั้งสูงทั้งใหญ่และตั้งตรง มีพระเดช
รุ่งโรจน์อยู่ในท่ามกลางแห่งหมู่พระสมณะ ปานดังดวง
อาทิตย์ฉะนั้น พระองค์ทรงเป็นภิกษุที่มีคุณสมบัติงดงาม
น่าชม มีพระฉวีวรรณผุดผ่องงดงามดังทองคำ พระองค์
ทรงสมบูรณ์ด้วยพระวรรณะและพระลักษณะอันอุดมถึง
อย่างนี้ จะมัวเมาเป็นสมณะอยู่ทำไมกัน พระองค์ควรจะ
เป็นพระราชาจักรพรรดิผู้ประเสริฐ ทรงปราบปรามไพรี
ชนะแล้วเสด็จผ่านพิภพ เป็นบรมเอกราชในสากลชมพู-
ทวีป มีสมุทรสาครสี่เป็นขอบเขต ข้าแต่พระโคดม ขอ
เชิญพระองค์เสด็จขึ้นผ่านราชสมบัติ เป็นองค์ราชาธิราช